Thai Elephant Home: ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์กับช้างน้อยน่ารักในโครงการ Green Rangers

 

ไทยอิแลแฟนท์โฮม-เชียงใหม่

การท่องเที่ยวเป็นการเปิดวิสัยทัศน์และทำให้เราได้สัมผัสและเรียนรู้โลกกว้าง แต่หลายคราการที่คนเราออกไปท่องเที่ยวสถานที่ต่างๆ ใช้ทรัพยากรอย่างเกินพอดี รุกล้ำวิถีชีวิตดั้งเดิมโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบในทางลบต่อชุมชน ก็ทำให้สถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงามหลายๆ ที่ลดมนต์สเน่ห์ลงไปอย่างน่าเสียดาย การแก้ปัญหาตรงนี้เป็นสิ่งจำเป็นและหลายคนก็เห็นถึงความสำคัญและร่วมมือร่วมใจการสร้างสรรค์การท่องเที่ยวแนวใหม่

หนึ่งในนั้นคือการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ซึ่งเป็นการท่องเที่ยวที่คำนึงถึงสภาพแวดล้อม เป็นการเข้าไปสัมผัสบรรยากาศอันงดงามในแบบที่มันเป็น รบกวนธรรมชาติน้อยที่สุด ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพไม่ฟุ่มเฟือย และที่สำคัญที่สุดคือการเคารพวัฒนธรรมดั้งเดิมของชุมชนนั้นๆ ให้คงอยู่ให้ได้ชื่นชม ไม่ถูกเปลี่ยนแปรจากฝูงชนที่หลั่งไหลกันเข้าไป ช่วงหลังเทรนด์การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์กำลังมาแรง และเมืองไทยเองก็มีหลายชุมชนที่เปิดตัวเองสำหรับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์โดยมีการจัดการวางแผนดูแลด้วยความเข้าใจ ซึ่งสร้างความประทับใจให้แก่ผู้มาเยือนทั้งไทยและเทศ

FoodiesJournie เองก็ชื่นชอบการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ครั้งหนึ่งที่เคยได้ไปนอนกระโจมอยู่ท่ามกลางหุบเขา ขี่ม้าชมทะเลสาบ ในประเทศคีร์กีสถานก็รู้สึกว่าการได้เข้าไปสัมผัสวิถีชีวิตของผู้คนนั้นมันทำให้เราเห็นความสวยงามของวัฒนธรรมของชาตินั้นๆ ได้อย่างอิ่มใจเกินกว่าที่การเดินท่องเที่ยวในตัวเมืองหรือเดินชมพิพิธภัณฑ์จะให้เราได้

พอหันมามองสถานที่เที่ยวในไทยบ้างก็พบเจอบทความและเรื่องราวดีๆ จาก ทีม Stay Journey ที่ได้บอกเล่าประสบการณ์ที่ได้พบจากการท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ที่ได้อะไรมากกว่าการเที่ยววัดวาอาราม ชมรำฟ้อน หรือตื่นตากับแสงสีแบบที่นักท่องเที่ยวทั่วไปได้รู้จักกับความเป็นเชียงใหม่อย่างผิวเผินแล้วก็จากไป ทำให้เราสนใจหาข้อมูลเพิ่มเติมมาฝากกันเพื่อแชร์เรื่องราวน่าสนใจนี้ต่อ เผื่อใครจะอยากไปลองด้วยตนเอง

Made with Square InstaPic

ไทยอิแลเแฟนท์โฮม จังหวัดเชียงใหม่ เป็นอีกหนึ่งชุมชนที่นำเสนอการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่แสดงถึงความเป็นไทยให้เป็นที่ประจักษ์แก่สายตานักท่องเที่ยว ด้วยความที่ช้างเป็นสัตว์ที่คนไทยผูกพันมาช้านาน แถมเป็นสัตว์ใหญ่ที่ไม่ใช่ใครๆก็จะได้สัมผัสใกล้ชิดได้ง่ายๆ การได้คลุกคลีกับช้างอย่างใกล้ชิดจึงเป็นสุดยอดแห่งความฟิน

109

ที่นี่คุณจะได้เรียนรู้ชีวิตควาญช้าง ได้อาบน้ำ ป้อนอาหาร ทำสปาโคลน และขี่ช้าง เต็มวันตั้งแต่เช้าจรดเย็นในบรรยากาศร่มรื่นแสนสบายของป่าไม้เขียวขจี

img_4814 090 118

ช้างของที่นี่ได้รับการดูแลอย่างดี ไม่ได้ถูกใช้งานหนักเพื่อการค้า แต่ได้รับความรักความเอาใจใส่อย่างเต็มที่ ช้างหนึ่งเชือกจะรับดูแลนักท่องเที่ยวเพียงหนึ่งคนเท่านั้น การอยู่กับช้างทั้งวันนั้นเปิดโอกาสให้คุณได้ทำความรู้จักกับนิสัยใจคออันน่ารักน่าเอ็นดูของเจ้าตัวโตเหล่านี้และส่งผ่านความรักความผูกพันให้กันอย่างเต็มที่

036

 

การทำให้ช้างไว้เนื้อเชื่อใจและยอมทำตามคำสั่งคุณไม่ใช่เรื่องง่ายแต่ถ้าคุณเรียนรู้ที่จะสื่อสารด้วยใจการจะควบคุมเขาได้ก็ไม่ใช่เรื่องยากเช่นกัน

img_4957

นอกจากจะได้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเจ้าช้างเหล่านี้ ที่นี่ยังให้คุณได้เรียนรู้วิถีชีวิตในด้านต่างๆ ของควาญช้าง

ไม่ว่าจะเป็นการทอผ้าแบบกะเหรี่ยงที่ใช้ในการทอชุดและย่ามที่ควาญใช้กัน หรือ การทำอาหารแบบฉบับของควาญช้างในสมัยก่อน

Processed with VSCOcam with c1 preset

และยังจะได้สัมผัสกับวิถีชีวิตอันเรียบง่ายและความเป็นอยู่แบบพอเพียงของคนที่นี่ ที่ใช้เกษตรอินทรีย์เข้ามาผลิตอาหารหลักของทั้งคนและช้าง

106

แค่ได้เห็นก็อยากไปใจจะขาดแล้ว เชื่อว่าใครที่ได้ไปจะได้พบกับความสงบร่มรื่นและเพลิดเพลินไปกับความน่ารักของเหล่าช้างน้อยและแม่ช้างขี้หวงลูก และได้เต็มตื้นกับวิถีชีวิตเรียบง่ายแบบไทยๆ ในอีกแง่มุมหนึ่งที่คุณอาจจะยังไม่เคยได้เห็นค่ะ

 

ถ้าอยากชมเรื่องราวจากวิดีโอคลิป ทางทีมก็ได้ลงไว้ให้ชมที่ Youtube Channel: Thai Elephant Home Stay Journey

 

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ไทยอิแลเแฟนท์โฮม จังหวัดเชียงใหม่ ได้ที่ https://stayjourney.wordpress.com

การประกวด Green Rangers ที่ให้ทีมได้ใช้ความสร้างสรรค์โปรโมทชุมชนสีเขียวนี้ เป็นความร่วมมือของ CreativeMOVE กับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การบินไทย Hivesters และ PORTFOLIOS*NETเพื่อสร้างสรรค์กิจกรรมท่องเที่ยวแบบยั่งยืนในรูปแบบใหม่ โดยการนำเสนอแนวคิดและมุมมองที่แตกต่างจากเดิม ซึ่งได้คัดเลือก 7 ทีมนักสร้างสรรค์ในเมืองไทย ลงพื้นที่ไปสัมผัสประสบการณ์จริง 5 วัน และร่วมกับชุมชน ออกแบบเส้นทางกิจกรรมท่องเที่ยว 2 วัน 1 คืน

http://creativemove.com/greenrangers/

 

รูปภาพที่ใช้ในบทความนำมาจาก https://stayjourney.wordpress.com

Comments

comments